วันจันทร์ที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

               การจำหน่วยผลิตภัณฑ์จากผักกาดหัว

                                                                                
 ประวัติความเป็นมา     
ชาวบ้านละหุ่ง มีอาชีพหลักคือ การทำนา และอาชีพเสริมคือปลูกหัวผักกาดขาวเป็นวัตถุดิบส่งโรงงานผลิตหัวผักกาดหวานต่อมาเริ่มหมักหัวผักกาด ซึ่งเดิมส่งโรงงานแต่เนื่องจากการส่งโรงงานไม่ได้ราคาเท่าที่ควร ชาวบ้านจึงรวมกลุ่มกันเพื่อจัดจำหน่ายเอง และเริ่มพัฒนาขึ้นเป็นการทำหัวผักกาดหวาน ตั้งกลุ่มจำหน่ายเองโดยไม่ผ่านพ่อค้าคนกลางปัจจุบันมีสมาชิกร่วมถือหุ้น37 ครัวเรือน
ในปี 2543 ได้เข้าร่วมโครงการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์ตามโครงการเศรษฐกิจพอเพียง และในปี 2544 ได้พัฒนากระบวนการผลิตและรับคำแนะนำจากสาธารณสุขจังหวัดสุรินทร์ โดยขอลงทะเบียน อย.ในเดือนธันวาคมและได้ลงทะเบียน อย.
ผลิตภัณฑ์ผักกาดหวาน อย. 32- 2- 00444-2-0001
ผลิตภัณฑ์ผักกาดดองสามรส อย. 32- 2- 0044 4-2 -002
ประชาชนในจังหวัดสุรินทร์และที่อื่น ๆ มักซื้อผักกาดหวานบ้านละหุ่งไปประกอบอาหารเช่น ผัด ต้ม ซึ่งมีรดชาดอร่อย เป็นที่พอใจแก่ผู้บริโภค ปัจจุบัน ผักกาดหวานบ้านละหุ่งเป็นที่รู้จักของคนทั้งจังหวัดสุรินทร์และจังหวัดอื่น ๆ
เอกลักษณ์ของผักกาดหวานบ้านละหุ่ง มีลักษณะเด่นเฉพาะตัว คือมีรดชาดหวาน กรอบอร่อย ไม่มีสารกันบูด และสารพิษเจือปน ถูกหลักอนามัย ใช้วัตถุดิบภายในชุมชนที่เกษตรกรปลูกเองโดยวิธีเกษตรอินทรีย์
            ผลิตภัณฑ์ผักกาดหวานบ้านละหุ่ง เกิดจากการรวมกลุ่มของกลุ่มสตรีในชุมชน บ้านละหุ่งจำนวน 34 คน ซึ่งเล็งเห็นศักยภาพในชุมชนที่สามารถผลิตหัวผักกาดได้ในฤดูหลังเก็บเกี่ยว + (ฤดูหนาว) จึงนำมาแปรรูปเป็นผักกาดหวานจำหน่ายภายในชุมชน และภายในจังหวัด สามารถเพิ่มรายได้ให้กับชุมชน และลดการว่างงานในชุมชน

การผลิตผักกาดหมักเค็ม


วัสดุ
1. หัวผักกาดตัดใบทิ้ง
2. เกลือทะเล (อัตราส่วนเกลือ 1ส่วน :หัวผักกาดสด ส่วนโดยน้ำหนัก)
3.ฟางข้าวแห้ง

อุปกรณ์
1. ตาข่ายไนล่อน
2. กระสอบป่าน
3. ปุ้งกี๋
4. จอบ
การผลิตหัวผักกาดหมักหวาน 100 กก.

วัสดุ
1. หัวผักกาด (100 กก.)
2. น้ำตาดทรายขาว (33 กก.)
3. สารส้ม (1.5 กก.)
4. น้ำสะอาด

อุปกรณ์
1. โอ่งเคลือบ
2. เครื่องชิลถุง
3. ถังอลูมิเนียม
4. พลาสติกใส / ผ้าขาวบาง

ขั้นตอนการผลิต
1. ใช้จอบขุดดินเป็นบ่อในลักษณะก้นกระทะเส้นผ่าศูนย์กลาง 1- 1.50 เมตร ลึก 0.50 – 1 เมตร
2. ทำคันดินสูงประมาณ 15 ซม. ห่างจากขอบบ่อประมาณ 30 ซม.
3. ใช้ฟางข้าวแห้งโรยทับขอบบ่อทั้งด้านในและบริเวณรอบๆบ่อหมัก เพื่อป้องกันไม่ให้หัวผักกาดสัมผัสกับดินโดยตรง
4. ใช้ตาข่ายไนล่อนคลุมทับฟางข้าวแห้งอีกชั้นเพื่อความสะดวกในการเก็บหัวผักกาดลงหมักในบ่อ

ขั้นตอนการผลิตและวิธีการหมัก

ระยะเวลาในการหมักหวาน


1. นำหัวผักกาดสดที่ตัดแต่งแล้วมาเลลงหลุมหมักที่เตรียมไว้เกลี่ยให้สม่ำเสมอสูงประมาณ 15 ซม.
2. นำเกลือทะเลมาโรยทับหัวผักกาดบางๆ
3. นำหัวผักกาดมาเทลงตามข้อที่ 1และนำเกลือมาโรยทับเหมือนข้อที่ ทำลักษณะเช่นนี้เป็นชั้นๆ จนกว่าจะเต็มหลุมแล้วใช้กระสอบป่านเป็นวัสดุคลุมทับ
4. หมักทิ้งไว้ 1-2 คืน(สำหรับครั้งแรก)ตอนเช้านำหัวผักกาดมาตากบนตาข่ายไนล่อนที่มีฟางข้าวแห้งรองพื้นโดยเกลี่ยให้หัวผักกาดได้รับแสงแดดอย่างทั่วถึง
5. ตอนเย็นวันเดียวกันให้นำหัวผักกาดลงหมักในบ่อและโรยเกลือเป็นชั้นๆเหมือนขั้นตอนข้อที่ และ 2
6. หมักทิ้งไว้ คืนตอนเช่นให้ปฏิบัติเหมือนข้อที่ 4
7. ใช้เวลาหมักตามวิธีการดังกล่าว ประมาณ 5-7วัน หรือจนกว่าหัวผักกาดจะได้ที่ โดยสังเกตจาก หัวผักกาดจะแบน ลักษณะอ่อนนุ่นเมื่อชิมดูจะมีรสเค็มจัด

ระยะเวลาในการหมักเค็มจะช้าหรือเร็วขึ้นอยู่กับปัจจัยดังนี้
1. ขนาดของหัวผักกาด หัวเล็กจะใช้เวลาน้อยกว่าหัวใหญ่
2. แสงแดดถ้าแดดดีจะทำให้ช่วงเวลาการหมัดน้อยลงเพราะการคายน้ำของหัวผักกาดดีขึ้นสามารถดูดชับ เกลือดีขึ้น

ระยะเวลาในการหมักเค็ม

1. นำหัวผักกาดหมักเค็มมาตัดแต่งล้างทำความสะอาดด้วยน้ำหลายๆ ครั้ง จนมีรสจืด
2. แช่ด้วยน้ำที่มีส่วนผสมของสารส้ม ประมาณ 30นาที เพื่อล้างให้หัวผักกาดมีรสจืดสนิท
3. ล้างด้วยน้ำสะอาด และนำหัวผักกาดไปผึ่งแดดให้สะเด็ดน้ำ
4. นำหัวผักกาดที่สะเด็ดน้ำแล้วบรรจุลงในโอ่งหมักโดยมีความหนา นิ้ว แล้วใช้น้ำตาดทรายขาวโรยทับ หนาประมาณ ซม. กดให้แน่น
5. นำหัวผักกาดบรรจุลงในโอ่งแล้วใช้น้ำทรายขาวโรยทับเหมือนข้อที่ทำเป็นชั้นๆ จนหมดและใช้น้ำตาลทรายขาวที่เหลือโรยทับด้านบนสุด ทั้งหมด
6. ใช้ผ้าขาวบาง หรือพลาสติกคลุมแล้วมัดปากโอ่งให้สนิท และใช้กระด้งปิดทับอีกชั้นหนึ่ง
7. หมักไว้ประมาณ 30 วันก็สามารถเปิดมาบริโภคได้
                                                
 การทำผักกาดหวาน จะต้องใช้หัวผักกาดที่ได้ขนาดพอดี เท่ากันเพราะเวลาหมักจะทำให้ได้รดชาดสม่ำเสมอ กลมกล่อม 



อ้างอิง
       
      http://nongtem.blogspot.com/
            

วันอังคารที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

สวนพฤกษศาสตร์


                                                         ต้นมะม่วง


ชื่อวิทยาศาสตร์    Mangifera indica Linn.
ชื่อวงศ์     ANACARDIACEAE
ชื่อสามัญ   Mango Tree
ชื่อท้องถิ่น
  • ทั่วไป เรียก มะม่วงบ้าน, มะม่วงสวน
  • กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี เรียก ขุ ,โคก
  • จันทบุรี เรียก เจาะ ช๊อก ช้อก
  • นครราชสีมา เรียก โตร้ก
  • มลายู-ภาคใต้ เรียก เปา
  • ละว้า-เชียงใหม่ เรียก แป
  • กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน เรียก สะเคาะ, ส่าเคาะส่า
  • เขมร เรียก สะวาย
  • เงี้ยว-ภาคเหนือ เรียก หมักโม่ง
  • จีน เรียก มั่งก้วย
ลักษณะทั่วไป
       มะม่วงเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูงประมาณ 10–30 เมตร 

       ใบ ใบเดี่ยวสีเขียว ขอบใบเรียบ ฐานใบมน ปลาย ใบแหลม 

       ดอก เป็นช่อ กลีบดอกมี 5 กลีบ เกสรสีแดงเรื่อๆ ดอกออกช่วงเดือนธันวาคมถึงเดือนกุมภาพันธ์ ช่วงฤดูร้อนจะติด 

       ผล ผล ยาวประมาณ 5–20 ซม. กว้าง 4–8 ซม. ลูกดิบสีเขียว เมื่อสุกเปลี่ยนเป็นสีเหลือง หรือเหลืองส้ม มีเมล็ดภายใน 1 เมล็ด

การปลูก
มะม่วงควรปลูกในหน้าฝนเจริญเติบโตได้ดีในดินอุดมสมบูรณ์ปลูกกลางแจ้ง การขยายพันธุ์ทำได้โดยการเพาะเมล็ดและการตอนกิ่ง
สรรพคุณทางยา
  • ผลสดแก่ รับประทานแก้คลื่นไส้อาเจียน วิงเวียน กระหายน้ำ
  • ผลสุก หลังรับประทานแล้วล้างเมล็ดตากแห้ง ต้มเอาน้ำดื่ม หรือบดเป็นผง รับประทานแก้ท้องอืดแน่น ขับพยาธิ
  • ใบสด 15–30 กรัม ต้มเอาน้ำดื่ม แก้ลำไส้อักเสบเรื้อรัง ท้องอืดแน่น เอาน้ำต้มล้างบาดแผลภายนอกได้
  • เปลือกต้น ต้มเอาน้ำดื่ม แก้ไข้ตัวร้อน
  • เปลือกผลดิบ คั่วรับประทานร่วมกับน้ำตาล แก้อาการปวดเมื่อยเมื่อมีประจำเดือน แก้ปวดประจำเดือน
คติความเชื่อ
   มะม่วงเป็นต้นไม้มงคลชนิดหนึ่งที่มีมาแต่ครั้งพุทธกาล คนโบราณเชื่อว่าหากนำมาปลูกไว้ในบริเวณบ้านทางทิศใต้ (ทักษิณ) จะทำให้เจ้าของบ้านและผู้อยู่อาศัยมีความร่ำรวยยิ่งขึ้น 
ต้นกำเนิด
ยังไม่ทราบที่มาอย่างแน่ชัด แต่ส่วนใหญ่เชื่อว่าแพร่พันธุ์มาจากเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จากการที่ภูมิภาคนั้นมีความหลากหลายทางพันธุกรรมและร่องรอยฟอสซิลที่หลากหลาย นับย้อนไปได้ถึง 25-30 ล้านปีก่อนมะม่วงมีความแตกต่างประมาณ 49 สายพันธุ์กระจายอยู่ตามประเทศในเขตร้อนตั้งแต่อินเดียไปจนถึงฟิลิปปินส์ ในประเทศไทยมีการปลูกมะม่วงมาช้านาน
    ผลมะม่วงนำมารับประทานได้ทั้งดิบและสุก มะม่วงดิบเปลือกสีเขียวเนื้อสีขาวส่วนใหญ่มีรสเปรี้ยว ยกเว้นบางพันธุ์ที่เรียกว่ามะม่วงมัน ส่วนผลสุกจะมีสีเหลืองทั้งเปลือกและเนื้อ รับประทานสด หรือ นำไปทำเป็นอาหารเช่น ข้าวเหนียวมะม่วง อีกทั้งมีการนำไปแปรรูป เช่น มะม่วงกวน แบ่งมะม่วงตามความนิยมในการรับประทานเป็น 3 ประเภทคือ
     นิยมรับประทานดิบได้แก่พันธุ์ที่มีรสหวานมันตอนแก่จัด เช่น เขียวเสวย แรด พิมเสนมัน ทองดำ เขียวไข่กา หรือมีรสมันตอนอ่อนไม่เปรี้ยว เช่น ฟ้าลั่น หนองแซง มะม่วงเหล่านี้เมื่อสุกแล้วจะหวานชืด ไม่อร่อย
     นิยมรับประทานสุก เมื่อดิบมีรสเปรี้ยว ต้องบ่มให้สุกก่อนรับประทานเช่น อกร่อง นวลจันทร์ น้ำดอกไม้
    นิยมนำมาแปรรูป แก่จัดมีรสมันอมเปรี้ยว เมื่อสุกหวานอมเปรี้ยวหรือหวานชืด จึงนิยมนำมาแปรรูปเป็นมะม่วงดอง มะม่วงกวนและอื่นๆ เช่น มะม่วงแก้ว พิมเสนเปรี้ยว

การใช้ประโยชน์

ผลมะม่วงนำมารับประทานได้ทั้งดิบและสุก มะม่วงดิบเปลือกสีเขียวเนื้อสีขาวส่วนใหญ่มีรสเปรี้ยว ยกเว้นบางพันธุ์ที่เรียกว่ามะม่วงมัน ส่วนผลสุกจะมีสีเหลืองทั้งเปลือกและเนื้อ รับประทานสด หรือ นำไปทำเป็นอาหารเช่น ข้าวเหนียวมะม่วง อีกทั้งมีการนำไปแปรรูป เช่น มะม่วงแก้ว มะม่วงดอง มะม่วงแช่อิ่ม มะม่วงเค็ม น้ำแยมมะม่วง พายมะม่วง เป็นต้น แบ่งมะม่วงตามความนิยมในการรับประทานเป็น 3 ประเภทคือ
  • นิยมรับประทานดิบได้แก่พันธุ์ที่มีรสหวานมันตอนแก่จัด เช่น เขียวเสวย แรด พิมเสนมัน ทองดำ เขียวไข่กา หรือมีรสมันตอนอ่อนไม่เปรี้ยว เช่น ฟ้าลั่น หนองแซง มะม่วงเหล่านี้เมื่อสุกแล้วจะหวานชืด ไม่อร่อย
  • นิยมรับประทานสุก เมื่อดิบมีรสเปรี้ยว ต้องบ่มให้สุกก่อนรับประทานเช่น อกร่อง นวลจันทร์ น้ำดอกไม้ นำไปประกอบอาหาร เช่น ใส่ในน้ำพริก ยำ
  • นิยมนำมาแปรรูป แก่จัดมีรสมันอมเปรี้ยว เมื่อสุกหวานอมเปรี้ยวหรือหวานชืด จึงนิยมนำมาแปรรูปเป็นมะม่วงดอง มะม่วงกวนและอื่นๆ เช่น มะม่วงแก้ว พิมเสนเปรี้ยว
นอกจากการนำมาเป็นอาหารแล้ว มะม่วงมีประโยชน์ด้านอื่นอีก ดังนี้
  • เนื้อไม้นำมาทำเฟอร์นิเจอร์
  • ใช้ยอดอ่อน ผลอ่อน มาประกอบอาหารแทนผัก
  • ใช้เป็นยาสมุนไพร เช่น ผลมะม่วงดิบมีวิตามินซีสูง แก้เลือดออกตามไรฟัน เป็นต้น
  • ชาวกะเหรี่ยงในอำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่นำเปลือกต้นมะม่วงไปย้อมผ้า ให้สีเขียว

วีดิโอ




อ้างอิง

www.google.co.th/search?q

th.wikipedia.org/wiki/มะม่วง

http://thaibotany.exteen.com/20110116/entry-8

www.youtube.com/watch?v=FtoHCiqO2uE

www.youtube.com/watch?v=ck8ZtnF5Gs0

วันอังคารที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

ประวัติส่วนตัว นายเปรมศักดิ์ รุ่งเรือง


ชื่อ นายเปรมศักดิ์ รุ่งเรือง  ชื่อเล่น ไก่
ชั้น มัธยมศีกษาปีที่ 6/4 เลขที่ 37
สัญชาติ ไทย
วัน/เดือน/ปี เกิด  15/01/2541 ปีขาล
กรุ๊ปเลือด โอ
ศาสนา      พุทธ
ภูมิลำเนา  บ้านคันรุ้ง  ตำบลเมืองไผ่  อำเภอกระสัง  จังหวัดบุรีรัมย์  31160
เบอร์โทรศัพท์    0990708073
การศึกษา     ประถมศึกษาตอนต้น โรงเรียนวัดธรรมถาวร
                       ประถมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนวัดธรรมถาวร
                       มัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนกระสังพิทยาคม
                       มัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนกระสังพิทยาคม
ครูที่ปรีกษา    1.นางรัศมี  กว้างขวาง
วิชาที่ชอบ       ชีววิทยา  พละศึกษา
วิชาที่ไม่ชอบ    อังกฤษ  
สีที่ชอบ     ฟ้า  เขียว   แดง
อาหารที่ชอบ    ก๋วยเตี๋ยว
กีฬาที่ชอบ     ฟุตบอล
งานอดิเรก      นอน   ดูโทรทัศน์
เพลงที่ชอบ    ใจน้อย  ทิ้งไว้กลางทาง เป็นต้น
อาชีพในอนาคต     ตำรวจ
                                  วิศวกร
                                  ทหาร
                                  ครู
มหาวิทยาลัยที่ต้องการศึกษาต่อ      มหาวิทยาลัยขอนแก่น
                                                               มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
                                                               มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
                                                               มหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์
คณะที่ต้องการศึกษาต่อ      คณะวิทยาศาสตร์
                                                คณะวิศวกรรม
                                                คณะครุศาสตร์
คติประจำใจ  ความพยายามอยู่ที่ไหนความสำเร็จอยู่ที่นั้น
E-mail  pramsak.rungrueamg
Facebook  กุ๊ก ไก่ ขนมครก ทารกเลือกได้
แผนที่บ้าน