ต้นมะม่วง
ชื่อวิทยาศาสตร์ Mangifera indica Linn.
ชื่อวงศ์ ANACARDIACEAE
ชื่อสามัญ Mango Tree
ชื่อท้องถิ่น
- ทั่วไป เรียก มะม่วงบ้าน, มะม่วงสวน
- กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี เรียก ขุ ,โคก
- จันทบุรี เรียก เจาะ ช๊อก ช้อก
- นครราชสีมา เรียก โตร้ก
- มลายู-ภาคใต้ เรียก เปา
- ละว้า-เชียงใหม่ เรียก แป
- กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน เรียก สะเคาะ, ส่าเคาะส่า
- เขมร เรียก สะวาย
- เงี้ยว-ภาคเหนือ เรียก หมักโม่ง
- จีน เรียก มั่งก้วย
ลักษณะทั่วไป
มะม่วงเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูงประมาณ 10–30 เมตร
ใบ ใบเดี่ยวสีเขียว ขอบใบเรียบ ฐานใบมน ปลาย ใบแหลม
ดอก เป็นช่อ กลีบดอกมี 5 กลีบ เกสรสีแดงเรื่อๆ ดอกออกช่วงเดือนธันวาคมถึงเดือนกุมภาพันธ์ ช่วงฤดูร้อนจะติด
ผล ผล ยาวประมาณ 5–20 ซม. กว้าง 4–8 ซม. ลูกดิบสีเขียว เมื่อสุกเปลี่ยนเป็นสีเหลือง หรือเหลืองส้ม มีเมล็ดภายใน 1 เมล็ด
การปลูก
มะม่วงควรปลูกในหน้าฝนเจริญเติบโตได้ดีในดินอุดมสมบูรณ์ปลูกกลางแจ้ง การขยายพันธุ์ทำได้โดยการเพาะเมล็ดและการตอนกิ่ง
สรรพคุณทางยา
- ผลสดแก่ รับประทานแก้คลื่นไส้อาเจียน วิงเวียน กระหายน้ำ
- ผลสุก หลังรับประทานแล้วล้างเมล็ดตากแห้ง ต้มเอาน้ำดื่ม หรือบดเป็นผง รับประทานแก้ท้องอืดแน่น ขับพยาธิ
- ใบสด 15–30 กรัม ต้มเอาน้ำดื่ม แก้ลำไส้อักเสบเรื้อรัง ท้องอืดแน่น เอาน้ำต้มล้างบาดแผลภายนอกได้
- เปลือกต้น ต้มเอาน้ำดื่ม แก้ไข้ตัวร้อน
- เปลือกผลดิบ คั่วรับประทานร่วมกับน้ำตาล แก้อาการปวดเมื่อยเมื่อมีประจำเดือน แก้ปวดประจำเดือน
คติความเชื่อ
มะม่วงเป็นต้นไม้มงคลชนิดหนึ่งที่มีมาแต่ครั้งพุทธกาล คนโบราณเชื่อว่าหากนำมาปลูกไว้ในบริเวณบ้านทางทิศใต้ (ทักษิณ) จะทำให้เจ้าของบ้านและผู้อยู่อาศัยมีความร่ำรวยยิ่งขึ้น
ต้นกำเนิด
ยังไม่ทราบที่มาอย่างแน่ชัด แต่ส่วนใหญ่เชื่อว่าแพร่พันธุ์มาจากเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จากการที่ภูมิภาคนั้นมีความหลากหลายทางพันธุกรรมและร่องรอยฟอสซิลที่หลากหลาย นับย้อนไปได้ถึง 25-30 ล้านปีก่อนมะม่วงมีความแตกต่างประมาณ 49 สายพันธุ์กระจายอยู่ตามประเทศในเขตร้อนตั้งแต่อินเดียไปจนถึงฟิลิปปินส์ ในประเทศไทยมีการปลูกมะม่วงมาช้านาน
ผลมะม่วงนำมารับประทานได้ทั้งดิบและสุก มะม่วงดิบเปลือกสีเขียวเนื้อสีขาวส่วนใหญ่มีรสเปรี้ยว ยกเว้นบางพันธุ์ที่เรียกว่ามะม่วงมัน ส่วนผลสุกจะมีสีเหลืองทั้งเปลือกและเนื้อ รับประทานสด หรือ นำไปทำเป็นอาหารเช่น ข้าวเหนียวมะม่วง อีกทั้งมีการนำไปแปรรูป เช่น มะม่วงกวน แบ่งมะม่วงตามความนิยมในการรับประทานเป็น 3 ประเภทคือ
นิยมรับประทานดิบได้แก่พันธุ์ที่มีรสหวานมันตอนแก่จัด เช่น เขียวเสวย แรด พิมเสนมัน ทองดำ เขียวไข่กา หรือมีรสมันตอนอ่อนไม่เปรี้ยว เช่น ฟ้าลั่น หนองแซง มะม่วงเหล่านี้เมื่อสุกแล้วจะหวานชืด ไม่อร่อย
นิยมรับประทานสุก เมื่อดิบมีรสเปรี้ยว ต้องบ่มให้สุกก่อนรับประทานเช่น อกร่อง นวลจันทร์ น้ำดอกไม้
นิยมนำมาแปรรูป แก่จัดมีรสมันอมเปรี้ยว เมื่อสุกหวานอมเปรี้ยวหรือหวานชืด จึงนิยมนำมาแปรรูปเป็นมะม่วงดอง มะม่วงกวนและอื่นๆ เช่น มะม่วงแก้ว พิมเสนเปรี้ยว
การใช้ประโยชน์
ผลมะม่วงนำมารับประทานได้ทั้งดิบและสุก มะม่วงดิบเปลือกสีเขียวเนื้อสีขาวส่วนใหญ่มีรสเปรี้ยว ยกเว้นบางพันธุ์ที่เรียกว่ามะม่วงมัน ส่วนผลสุกจะมีสีเหลืองทั้งเปลือกและเนื้อ รับประทานสด หรือ นำไปทำเป็นอาหารเช่น ข้าวเหนียวมะม่วง อีกทั้งมีการนำไปแปรรูป เช่น มะม่วงแก้ว มะม่วงดอง มะม่วงแช่อิ่ม มะม่วงเค็ม น้ำแยมมะม่วง พายมะม่วง เป็นต้น แบ่งมะม่วงตามความนิยมในการรับประทานเป็น 3 ประเภทคือ
- นิยมรับประทานดิบได้แก่พันธุ์ที่มีรสหวานมันตอนแก่จัด เช่น เขียวเสวย แรด พิมเสนมัน ทองดำ เขียวไข่กา หรือมีรสมันตอนอ่อนไม่เปรี้ยว เช่น ฟ้าลั่น หนองแซง มะม่วงเหล่านี้เมื่อสุกแล้วจะหวานชืด ไม่อร่อย
- นิยมรับประทานสุก เมื่อดิบมีรสเปรี้ยว ต้องบ่มให้สุกก่อนรับประทานเช่น อกร่อง นวลจันทร์ น้ำดอกไม้ นำไปประกอบอาหาร เช่น ใส่ในน้ำพริก ยำ
- นิยมนำมาแปรรูป แก่จัดมีรสมันอมเปรี้ยว เมื่อสุกหวานอมเปรี้ยวหรือหวานชืด จึงนิยมนำมาแปรรูปเป็นมะม่วงดอง มะม่วงกวนและอื่นๆ เช่น มะม่วงแก้ว พิมเสนเปรี้ยว
นอกจากการนำมาเป็นอาหารแล้ว มะม่วงมีประโยชน์ด้านอื่นอีก ดังนี้
- เนื้อไม้นำมาทำเฟอร์นิเจอร์
- ใช้ยอดอ่อน ผลอ่อน มาประกอบอาหารแทนผัก
- ใช้เป็นยาสมุนไพร เช่น ผลมะม่วงดิบมีวิตามินซีสูง แก้เลือดออกตามไรฟัน เป็นต้น
- ชาวกะเหรี่ยงในอำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่นำเปลือกต้นมะม่วงไปย้อมผ้า ให้สีเขียว
วีดิโอ
อ้างอิง
www.google.co.th/search?q
th.wikipedia.org/wiki/มะม่วง
http://thaibotany.exteen.com/20110116/entry-8
www.youtube.com/watch?v=FtoHCiqO2uE
www.youtube.com/watch?v=ck8ZtnF5Gs0
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น