การจำหน่วยผลิตภัณฑ์จากผักกาดหัว
ชาวบ้านละหุ่ง มีอาชีพหลักคือ การทำนา และอาชีพเสริมคือปลูกหัวผักกาดขาวเป็นวัตถุดิบส่งโรงงานผลิตหัวผักกาดหวานต่อมาเริ่มหมักหัวผักกาด ซึ่งเดิมส่งโรงงานแต่เนื่องจากการส่งโรงงานไม่ได้ราคาเท่าที่ควร ชาวบ้านจึงรวมกลุ่มกันเพื่อจัดจำหน่ายเอง และเริ่มพัฒนาขึ้นเป็นการทำหัวผักกาดหวาน ตั้งกลุ่มจำหน่ายเองโดยไม่ผ่านพ่อค้าคนกลางปัจจุบันมีสมาชิกร่วมถือหุ้น37 ครัวเรือน
ในปี 2543 ได้เข้าร่วมโครงการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์ตามโครงการเศรษฐกิจพอเพียง และในปี 2544 ได้พัฒนากระบวนการผลิตและรับคำแนะนำจากสาธารณสุขจังหวัดสุรินทร์ โดยขอลงทะเบียน อย.ในเดือนธันวาคมและได้ลงทะเบียน อย.
- ผลิตภัณฑ์ผักกาดหวาน อย. 32- 2- 00444-2-0001
- ผลิตภัณฑ์ผักกาดดองสามรส อย. 32- 2- 0044 4-2 -002
ประชาชนในจังหวัดสุรินทร์และที่อื่น ๆ มักซื้อผักกาดหวานบ้านละหุ่งไปประกอบอาหารเช่น ผัด ต้ม ซึ่งมีรดชาดอร่อย เป็นที่พอใจแก่ผู้บริโภค ปัจจุบัน ผักกาดหวานบ้านละหุ่งเป็นที่รู้จักของคนทั้งจังหวัดสุรินทร์และจังหวัดอื่น ๆ
เอกลักษณ์ของผักกาดหวานบ้านละหุ่ง มีลักษณะเด่นเฉพาะตัว คือมีรดชาดหวาน กรอบอร่อย ไม่มีสารกันบูด และสารพิษเจือปน ถูกหลักอนามัย ใช้วัตถุดิบภายในชุมชนที่เกษตรกรปลูกเองโดยวิธีเกษตรอินทรีย์
ผลิตภัณฑ์ผักกาดหวานบ้านละหุ่ง เกิดจากการรวมกลุ่มของกลุ่มสตรีในชุมชน บ้านละหุ่งจำนวน 34 คน ซึ่งเล็งเห็นศักยภาพในชุมชนที่สามารถผลิตหัวผักกาดได้ในฤดูหลังเก็บเกี่ยว + (ฤดูหนาว) จึงนำมาแปรรูปเป็นผักกาดหวานจำหน่ายภายในชุมชน และภายในจังหวัด สามารถเพิ่มรายได้ให้กับชุมชน และลดการว่างงานในชุมชน
การผลิตผักกาดหมักเค็ม
วัสดุ
1. หัวผักกาดตัดใบทิ้ง
2. เกลือทะเล (อัตราส่วนเกลือ 1ส่วน :หัวผักกาดสด 3 ส่วนโดยน้ำหนัก)
3.ฟางข้าวแห้ง
อุปกรณ์
1. ตาข่ายไนล่อน
2. กระสอบป่าน
3. ปุ้งกี๋
4. จอบ
การผลิตหัวผักกาดหมักหวาน 100 กก.
วัสดุ
1. หัวผักกาด (100 กก.)
2. น้ำตาดทรายขาว (33 กก.)
3. สารส้ม (1.5 กก.)
4. น้ำสะอาด
อุปกรณ์
1. โอ่งเคลือบ
2. เครื่องชิลถุง
3. ถังอลูมิเนียม
4. พลาสติกใส / ผ้าขาวบาง
1. ใช้จอบขุดดินเป็นบ่อในลักษณะก้นกระทะเส้นผ่าศูนย์กลาง 1- 1.50 เมตร ลึก 0.50 – 1 เมตร
2. ทำคันดินสูงประมาณ 15 ซม. ห่างจากขอบบ่อประมาณ 30 ซม.
3. ใช้ฟางข้าวแห้งโรยทับขอบบ่อทั้งด้านในและบริเวณรอบๆบ่อหมัก เพื่อป้องกันไม่ให้หัวผักกาดสัมผัสกับดินโดยตรง
4. ใช้ตาข่ายไนล่อนคลุมทับฟางข้าวแห้งอีกชั้นเพื่อความสะดวกในการเก็บหัวผักกาดลงหมักในบ่อ
ขั้นตอนการผลิตและวิธีการหมัก
ระยะเวลาในการหมักหวาน
1. นำหัวผักกาดสดที่ตัดแต่งแล้วมาเลลงหลุมหมักที่เตรียมไว้เกลี่ยให้สม่ำเสมอสูงประมาณ 15 ซม.
2. นำเกลือทะเลมาโรยทับหัวผักกาดบางๆ
3. นำหัวผักกาดมาเทลงตามข้อที่ 1และนำเกลือมาโรยทับเหมือนข้อที่ 2 ทำลักษณะเช่นนี้เป็นชั้นๆ จนกว่าจะเต็มหลุมแล้วใช้กระสอบป่านเป็นวัสดุคลุมทับ
4. หมักทิ้งไว้ 1-2 คืน(สำหรับครั้งแรก)ตอนเช้านำหัวผักกาดมาตากบนตาข่ายไนล่อนที่มีฟางข้าวแห้งรองพื้นโดยเกลี่ยให้หัวผักกาดได้รับแสงแดดอย่างทั่วถึง
5. ตอนเย็นวันเดียวกันให้นำหัวผักกาดลงหมักในบ่อและโรยเกลือเป็นชั้นๆเหมือนขั้นตอนข้อที่ 1 และ 2
6. หมักทิ้งไว้ 1 คืนตอนเช่นให้ปฏิบัติเหมือนข้อที่ 4
7. ใช้เวลาหมักตามวิธีการดังกล่าว ประมาณ 5-7วัน หรือจนกว่าหัวผักกาดจะได้ที่ โดยสังเกตจาก หัวผักกาดจะแบน ลักษณะอ่อนนุ่นเมื่อชิมดูจะมีรสเค็มจัด
ระยะเวลาในการหมักเค็มจะช้าหรือเร็วขึ้นอยู่กับปัจจัยดังนี้
1. ขนาดของหัวผักกาด หัวเล็กจะใช้เวลาน้อยกว่าหัวใหญ่
2. แสงแดดถ้าแดดดีจะทำให้ช่วงเวลาการหมัดน้อยลงเพราะการคายน้ำของหัวผักกาดดีขึ้นสามารถดูดชับ เกลือดีขึ้น
ระยะเวลาในการหมักเค็ม
1. นำหัวผักกาดหมักเค็มมาตัดแต่งล้างทำความสะอาดด้วยน้ำหลายๆ ครั้ง จนมีรสจืด
2. แช่ด้วยน้ำที่มีส่วนผสมของสารส้ม ประมาณ 30นาที เพื่อล้างให้หัวผักกาดมีรสจืดสนิท
3. ล้างด้วยน้ำสะอาด และนำหัวผักกาดไปผึ่งแดดให้สะเด็ดน้ำ
4. นำหัวผักกาดที่สะเด็ดน้ำแล้วบรรจุลงในโอ่งหมักโดยมีความหนา 3 นิ้ว แล้วใช้น้ำตาดทรายขาวโรยทับ หนาประมาณ 1 ซม. กดให้แน่น
5. นำหัวผักกาดบรรจุลงในโอ่งแล้วใช้น้ำทรายขาวโรยทับเหมือนข้อที่4 ทำเป็นชั้นๆ จนหมดและใช้น้ำตาลทรายขาวที่เหลือโรยทับด้านบนสุด ทั้งหมด
6. ใช้ผ้าขาวบาง หรือพลาสติกคลุมแล้วมัดปากโอ่งให้สนิท และใช้กระด้งปิดทับอีกชั้นหนึ่ง
7. หมักไว้ประมาณ 30 วันก็สามารถเปิดมาบริโภคได้
การทำผักกาดหวาน จะต้องใช้หัวผักกาดที่ได้ขนาดพอดี เท่ากันเพราะเวลาหมักจะทำให้ได้รดชาดสม่ำเสมอ กลมกล่อม
อ้างอิง
http://nongtem.blogspot.com/
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น